Translate
วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ลักษณะของงานกลึง
1.งานกลึงปาดหน้า
งานกลึงปาดหน้า เป็นลักษณะงานกลึงปาดผิวหน้าตัดของชิ้นงานออก ชิ้นงานจะหมุนส่วนมีดกลึงจะเคลื่อนที่เข้าออก ในแนวตั้งฉากกับ spindle เพื่อปาดผิวหน้า และเลื่อนซ้ายขวาในแนวเดียวกับ spindle เพื่อควบคุมความยาว
(ก)งานกลึงปาดหน้า
2.งานกลึงปอกผิว
งานกลึงปอกผิว เป็นลักษณะของการกลึงชิ้นงานตามแนวขนานเพลาจับยึดของเครื่องกลึง ถ้าเป็นงานปอกผิวภายนอกเส้นผ่านศูนย์กลางของชิ้นงานจะเล็กลง แต่ถ้าเป็นงานปอกผิวภายในจะคว้านเป็นรูทำให้เส้นผ่านศูนย์กลางรูมีขนาดโตขึ้น
งานกลึงปอกผิว
3.งานกลึงเกลียว
ลักษณะงานกลึงเกลียวจะคล้ายกับการกลึงปอกผิว ซึ่งจะแตกต่างกันตรงที่งานปอกผิวจะทำให้ผิวงานเรียบ แต่งานกลึงเกลียวจะเคลื่อนที่ตามระยะ pitch ของเกลียวตามที่เรากำหนด ซึ่งถ้าเป็นเครื่องกลึงธรรมดาจะต้องมีชุดเฟืองในการกลึงเกลียว
งานกลึงเกลียว
4.งานกลึงเรียว
งานกลึงเรียว มีทั้งงานกลึงภายนอกและงานกลึงภายใน การกลึงเรียวเส้นผ่านศูนย์กลางของจุดเริ่มต้นกับจุดสิ้นสุดจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอัตราเรียวหรือขนาดความเรียวที่เรากำหนด
งานกลึงเรียว
5.งานกลึงตกร่อง
งานกลึงตกร่องเป็นลักษณะของงานกลึงปอกและงานกลึงปาดหน้าผสมกัน ขึ้นอยู่กับขนาดของร่องและความเรียบผิวที่ต้องการในแต่ละด้าน
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานกลึง
1.หัวจับ (Chuck)
หัวจับแบบสามจับพร้อม
1.1 หัวจับสามจับพร้อมเป็นหัวจับที่ใช้จับงานกลมโดยที่ทั้งสามฟันจะเคลื่อนที่เข้าออกพร้อมกัน ลักษณะการจับฟันจับจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ฟันจับในและฟันจับนอกสามารถถอดเปลี่ยนได้
หัวจับแบบสี่จับอิสระ
1.2 หัวจับสี่จับอิสระ ใช้จับงานลักษณะที่เป็นเหลี่ยม โดยฟันจับจะเคลื่อนที่อิสระต่อกัน ฟันจับสามารถจับในและจับนอกได้ในตัวเดียว
2.จานพา
ใช้ประกอบร่วมกับห่วงพาและยันศูนย์ ในการพาชิ้นงานหมุน ในการกลึงระหว่างศูนย์
จานพา
3. ห่วงพา
ใช้ประกอบร่วมกับจานพาและยันศูนย์ ในการพาชิ้นงานหมุน ในการกลึงระหว่างศูนย์
ห่วงพามีอยู่ 4 แบบ ดังนี้
ห่วงพาแบบขางอ
ห่วงพาแบบขาตรง
ห่วงพาแบบเซฟตี้
ห่วงพาแบบแคล็มป์
4.เพลาอัด
หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า กันสะท้าน ใช้กับงานที่มีความยาวมาก เพื่อป้องกันการโก่งงอของชิ้นงานขณะทำงาน กันสะท้านที่ใช้อยู่ทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบตามชิ้นงานและแบบตายตัว
แบบตามชิ้นงาน แบบตายตัว
5.ยันศูนย์
เป็นอุปกรณ์ที่ประคองชิ้นงานป้องกันการแกว่งของชิ้นงาน จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ศูนย์เป็นและศูนย์ตาย ศูนย์เป็นจะใช้ประกอบร่วมกับยันศูนย์ท้ายแท่น
ยันศูนย์
6.ด้ามมีดกลึง
ใช้สำหรับจับมีดกลึงที่มีขนาดเล็กและสั้น เช่น มีดคว้านรู มีดกลึงเกลียวใน มีดเล็บ
ด้ามมีดกลึง
7. ล้อพิมพ์ลาย
เป็นอุปกรณ์ที่ทำลายให้กับชิ้นงานเพื่อความสวยงามและกันลื่น ล้อพิมพ์ลายมีทั้งลายตรง
ลายขวาง ลายหยาบ และลายละเอียด
ล้อพิมพ์ลาย
หลักการทำงานของเครื่องกลึง
มอเตอร์ของเครื่องกลึงจะส่งถ่ายกำลังไปยังชุดหัวเครื่อง โดยใช้ระบบสายพาน โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้สายพานตัววี เพราะสามารถส่งกำลังได้ดีและไม่เสียงดัง
สายพานจะส่งถ่ายกำลังไปยังหัวเครื่อง เพื่อให้เพลางานหมุน ซึ่งระบบขับเคลื่อนเพลางาน มีทั้งระบบล้อสายพานหลายขั้น และระบบชุดเฟือง
*ในกรณีของเครื่องกลึง (CNC) หรือเครื่องกลึงอัตโนมัติ จะใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการทำงานในขั้นตอนต่างๆ แทนการใช้คนคุมเครื่อง
ส่วนประกอบของเครื่องกลึง
1.สะพานแท่นเครื่อง (Bed)
เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุด ใช้รองรับส่วนต่างๆของเครื่องกลึง ทำมาจากเหล็กหล่อแข็งผิวเรียบ ซึ่งผ่านการเจียระไน ทำหน้าที่รองรับชุดแท่นเลื่อน และชุดศูนย์ท้ายแท่น
2.หัวเครื่อง (Head stock)
เป็นชุดที่มีระบบกลไกต่างๆ ทำให้เกิดการขับเคลื่อนของหัวจับชิ้นงาน หรือทำให้ชิ้นงานหมุนด้วยความเร็วรอบต่างๆ มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
-ชุดส่งกำลัง (Transmissions) เครื่องกลึงจะส่งกำลังขับงานกลึงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor) โดยส่งกำลังผ่านสายพานลิ่ม (V-Belt) และผ่านชุดเฟือง (Gear)
3.ชุดศูนย์ท้ายแท่น (Tail Stock)
ชุดศูนย์ท้ายแท่นสามารถเลื่อนไป-มา บนสะพานแท่นเครื่องได้ ทำหน้าที่ประคองชิ้นงานกลึงที่มีขนาดยาวไม่ให้สั่น โดยใช้ยันศูนย์ หรือสามารถจับยึดดอกสว่าน เพื่อเจาะรูชิ้นงานได้ด้วย โดยอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบเข้าช่วย
4.ชุดแท่นเลื่อน (Carriage)
เป็นชุดสำหรับยึดเครื่องมือตัดและสามารถเคลื่อนไป-มา ตามความยาวของสะพานแท่นเครื่อง เพื่อใช้ในการปฎิบัติงาน
5.ระบบป้อน (Feed mechanism)
ในระบบป้อนจะมีชุดเฟืองเพื่อใช้ในการตั้งค่าของอัตราการป้อนหรือระยะพิตซ์ของเกลียวต่างๆ จะส่งกำลังไปยังชุดกล่องเฟือง ซึ่งประกอบด้วย 1.ชุดเฟืองป้อน 2.ชุดเฟืองขับ 3.เพลาป้อน
4.เพลาเกลียว
4.เพลาเกลียว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)